ย่อยบทความ: ธุรกิจกงสีรุ่นที่สามจะเติบโตกว่ารุ่นพ่อได้อย่างไร
ผมเพิ่งได้อ่านข้อมูลจากเครดิตสวิส บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนชั้นนำมาว่า ธุรกิจครอบครัว (Family Business) จากประเทศไทยมีมูลค่ารวมถึง 5.2 พันล้านเหรียญ ติดอันดับ 8 ของโลกและอันดับ 7 ของเอเชียแปซิฟิค โดยประเทศที่มีมูลค่าของ ธุรกิจครอบครัว มากที่สุดอันดับหนึ่งคือเกาหลีใต้ รองลงมาคือฮ่องกง สิงคโปร์ จีน และอินเดีย หากดูจากรายชื่อประเทศพวกนี้ น่าจะบอกได้ว่าคนเอเชียยังยึดติดกับรูปแบบการทำธุรกิจแบบกงสีอยู่มาก
สถิติที่น่าสนใจคือผลประกอบการธุรกิจครอบครัวในรุ่นแรกและรุ่นที่สองจะสามารถสร้างมูลค่ากิจการให้เติบโตได้ประมาณ 9% ต่อปี แต่พอมาถึงเจ้าของธุรกิจในรุ่นที่สาม ตัวเลขลดลงมาอยู่ที่ 6.5% อาจจะเป็นเพราะขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นมีผลให้การเติบโตลดลง
ถึงอย่างไร เจ้าของกิจการในรุ่นที่สามซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นหลาน กำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายอย่างมาก ทั้งจากกระแส Digital Disrupt และการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก ธุรกิจรุ่นอากงหรือรุ่นพ่อ อาจจะไม่ได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเหมือนในยุคนี้ คำถามคือรุ่นหลานที่เป็นคนรุ่นใหม่จะปรับตัวอย่างไร?
จากประสบการณ์ ผมได้เห็นธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลางในไทยที่มีศักยภาพจำนวนมาก บางบริษัทสามารถทำกำไรสุทธิได้มากกว่าทุนจดทะเบียนเสียอีก อย่างบริษัทผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันรายหนึ่งที่ผลิตผลงานให้กับผู้ว่าจ้างต่างชาติ มีทุนจดทะเบียนแค่ 1 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิถึง 20 ล้านบาท หรือธุรกิจที่ดูจะไม่มีอะไรอย่าง เจ้คิว ปูม้านึ่ง ที่ส่งเดลิเวอรีถึงบ้าน ไม่น่าเชื่อว่าจะมีรายได้ต่อปีหลายร้อยล้านบาทและกำลังเตรียมตัวเข้าตลาดหุ้นแล้วด้วย และยังมีอีกมากที่อาจจะซ่อนอยู่แล้วเราไม่รู้
ประเทศไทย ยังเป็นตลาดผู้บริโภคที่มีศักยภาพเพราะจำนวนประชากรเรามีกว่า 65 ล้านคน และยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน ไหนจะมี โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่กำลังจะเกิด ผมจึงมีความเชื่อว่าธุรกิจในรุ่นที่สามนี้ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก แต่ต้องหาทางโตให้ถูกทาง
เรื่องของเงินทุนและการเงิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเร่งการเติบโตของธุรกิจให้เร็วยิ่งขึ้น และยังมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยหากเราเลือกที่จะใช้เครื่องมือของตลาดทุนให้เกิดประโยชน์ เพราะผู้ที่ใส่เงินทุนมาให้เราผ่านการร่วมลงทุนไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนบุคคลหรือสถาบัน จะเข้ามาช่วยให้คำแนะนำปรึกษา โดยเฉพาะเรื่องทางการเงิน การทำบัญชี ให้มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น เพื่อปลายทางคือการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น ถึงจุดนั้นจากธุรกิจครอบครัวก็จะเป็นธุรกิจมหาชน ได้อย่างเต็มตัว
ผมได้ริเริ่มโครงการแรกของบริษัท ซุปเปอร์คอร์ปอเรชั่น ด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ อย่าง บริษัทหลักทรัพย์ เออีซีจำกัด (มหาชน) ที่มีประสบการณ์ในการเป็นเจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นแล้วรวมถึงนักลงทุนเวนเจอร์แคปิตอล ผู้จัดการกองทุน มาให้ความรู้กับผู้ประกอบการที่สนใจกลไกของตลาดทุนว่าจะเร่งการเติบโตให้กับธุรกิจของเขาได้อย่างไร งานจะมีขึ้นในวันที่ 19-26 พฤศจิกายน 2560 สอบถามรายละเอียดได้ที่แฟนเพจ Super Corporations
ที่มา Forbes Thailand Magazine
สิ่งที่ได้จากบทความนี้
- ประเทศไทย ธุรกิจกครอบครัวมีมูลค่าเป็นอันดับที่ 8 ของโลก โดยมีเกาหลีใต้เป็นอันดับที่ 1
- สถิติ ผลประกอบการธุรกิจครอบครัวรุ่นแรกและรุ่นที่สองจะเติบโตได้ประมาณ 9% ต่อปี แต่พอรุ่นที่ 3 จะลดลงมาอยู่ที่ 6.5%
- เงินทุนและการเงิน มีปัจจัยสำคัญที่จะเร่งการเติบโตของธุรกิจ
แล้วคุณล่ะ ได้อะไรจากบทความนี้ มาแชร์กันนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น