อยากทำธุรกิจนำเข้าต้องรู้! [ภาคตลาดและภาคโลจิสติกส์]
เสน่ห์ของสินค้านำเข้ามีสองข้อ ข้อแรกคือ Uniqueness หรือความแตกต่างทั้งภาพลักษณ์ ดีไซน์ คุณภาพ และส่วนต่างกำไรสูงลิ่ว และข้อสอง เป็นอีกแนวไปเลยคือ Economy คนไทยไม่ทำ นำเข้าถูกกว่า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ตลาดสินค้านำเข้าในไทยคึกคักและเติบโตตลอดเวลา
จากประสบการณ์การนำเข้าเกือบสิบปี ผมมีโอกาสดูแลสินค้าหลากหลายได้แก่ ของกิน ของใช้ เฟอร์นิเจอร์ ของชำร่วย ฯลฯ พบว่าทุกอุตสาหกรรมที่ดูแลมามีปริมาณนำเข้าสูงขึ้นตลอดครับ ไม่ว่านักวิชาการจะมองโลกในแง่ร้ายอย่างไร แต่ในแง่ของนักธุรกิจที่คลุกคลีกับตลาดจริง ๆ ประสบการณ์มันบอกว่าคำพยากรณ์ของนักวิชาการไม่ค่อยตรง ที่เหลือก็เป็นเรื่องของผู้ประกอบการว่าจะทำการตลาดสินค้าของตนได้ดีแค่ไหน แย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมาได้มากน้อยแค่ไหนครับ
อยากทำธุรกิจนำเข้าต้องรู้อะไรบ้าง
อยากทำธุรกิจนำเข้ามีโจทย์สำคัญที่คุณต้องออกไปดูตลาดและนำข้อมูลกลับมาตอบตัวเองดังนี้…
ภาคตลาด
- ขายอะไร ใครคือลูกค้า
- ราคาตลาดเท่าไร
- นำเข้ามาแล้วจะขายอย่างไร
ภาคสรรหา
- ซื้อจากไหน
- นำเข้ามาอย่างไร
- ต้นทุนนำเข้าเท่าไร
ขายอะไร ใครคือลูกค้า
สินค้าเกือบทุกอย่างที่ปรากฏตัวขึ้นบนโลกและยังคงมีขายอยู่จนถึงปัจจุบันคุณสามารถตีความเบื้องต้นได้ว่ามันขายได้แต่จะขายดีไม่ดีนั้นอีกเรื่อง
สินค้าที่มีคนนำเข้ามาไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ ของชำร่วย เครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่ ฯลฯ และสามารถเปิดเป็นหน้าร้านหรือกิจการขายเป็นกิจจะลักษณะก็ล้วนเป็นสิ่งที่ขายได้มีตลาดรองรับแน่นอนเช่นกัน และสำหรับนักธุรกิจใหม่ที่มีสินค้าในใจ สิ่งที่ต้องคิดถึงคือ นำเข้ามาขายใคร ใครคือลูกค้าของคุณ?
การที่คุณตั้งโจทย์และสร้าง Avatar ว่าที่ลูกค้าจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดคุณสมบัติของสินค้าได้ชัดเจนขึ้น ลูกค้าต่างกลุ่มก็ต้องการความประณีตของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน รวมไปถึงราคาปลีกและอัตรากำไรที่คุณจะได้ก็ต่างกัน
แม้แต่เฟอร์นิเจอร์นำเข้าก็มีหลายระดับ เก้าอี้ตัวละพันก็มี เก้าอี้ตัวละแสนก็มี เฟอร์นิเจอร์ที่ IKEA ก็ต่างจากเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ คนที่ไปซื้อของก็คนละกลุ่ม และวิธีทำการสื่อสารการตลาดก็คนละแบบ แบบแรกเน้นโปรโมชั่น แบบที่สองเน้น Story ของสินค้า!
ราคาตลาดเท่าไร
เมื่อคุณเลือกกลุ่มลูกค้าและสินค้าที่อยากนำมาขายต่อมาคือสำรวจราคาตลาด นี่แหละครับถึงให้เลือกกลุ่มลูกค้าก่อน ไม่อย่างนั้นคุณได้สำรวจราคากันจนหัวหมุน สินค้าประเภทเดียวกันราคาต่างกันเป็นสิบ ๆ เท่าตัวเพราะเขาขายคนละกลุ่ม
การสำรวจราคาตลาดเพื่อหามูลค่าโดยเฉลี่ยที่เขาขายกันอยู่ในตลาดกลุ่มนั้น ๆ การรู้ราคาตลาดจะต่อยอดไปสู่การสรรหาแหล่งสินค้าและวิธีการนำเข้ามาภายใต้ต้นทุนที่สัมพันธ์กับราคาปลีกที่คุณจะขายและได้อัตรากำไรเป็นที่น่าพอใจ
การขายดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาขายเพียงอย่างเดียวเพราะบางกลุ่มลูกค้าไม่ใช่กลุ่ม Price sensitive แต่เป็นแนว Brand sensitive หรือ มีรสนิยมเฉพาะทาง เป็นต้น เพียงแต่เมื่อคุณ เลือกกลุ่มลูกค้า เลือกสินค้า และศึกษาโครงสร้างราคาปลีกเพื่อที่คุณจะได้ขายสินค้าในราคาที่ไม่โต่งจนเกินไปจากค่าเฉลี่ยของตลาดที่คุณเล่น
นำเข้ามาแล้วจะขายอย่างไร
สุดท้ายคือ ขายอย่างไร ขายที่ไหน ปัจจุบันคนอาจคิดว่า ขายออนไลน์สิ! อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะสินค้าด้วย ไม่ใช่สินค้าทุกชนิดจะเหมาะแก่การขายออนไลน์ บางอย่างต้องมีโชว์รูมไว้แสดงสินค้า สินค้ากลุ่ม High-end ส่วนมากมีโชว์รูม
แม้ตัวเลขการซื้อของออนไลน์จะเติบโตขึ้น อีคอมเมิร์ซ เอ็มคอมเมิร์ซ จะมาแรงมาเร็ว กระแสโหมกระพือว่าทำแล้วรวยสถานเดียว แต่ระดับอายุของคนที่ Engage โลกออนไลน์สูงสุดยังเป็นกลุ่มวัยรุ่นระหว่าง มัธยมถึงอุดมศึกษา รองลงมาคือคนจบใหม่และเพิ่งเริ่มทำงาน
คุณคิดว่าคนกลุ่มนี้เป็นตลาดกลุ่มไหน โดยมากคือ Price sensitive ซื้อของกระจุกกระจิกและราคาไม่แพง ผู้ประกอบการอาศัย Turn-over หรือความถี่ในการขาย และ Volume หรือปริมาณขาย ในการทำกำไร
ส่วนกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูงซื้อสินค้าเปิดบิลครั้งละแสนบาทขึ้นไป กลุ่มนี้ต้องการประสบการณ์การซื้อสินค้าในระดับสูง คนเหล่านี้ชอบคุยตรงกับแบรนด์ครับ ฉะนั้นสินค้าแบรนด์ หรือคนที่สร้างแบรนด์เองมักมีโชว์รูมหรือเคาเตอร์ในห้างสรรพสินค้า
ยกตัวอย่างธุรกิจผ้าพันคอแบรนด์ โซอี้ เจ้าของพัฒนาสินค้าและสร้างแบรนด์เอง มีการนำเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำเพื่อเกิด Physical Image ของตัวสินค้า ยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์ แต่ยอดขายสำคัญมากจากการขายออนไลน์และการขายลูกค้าองค์กร หรือ Direct Client ที่สั่งทำและสั่งซื้อเป็นปริมาณมาก
การมี Physical location เมื่อเจ้าของแบรนด์ไปคุยกับ ลูกค้ารายย่อย หรือ Direct client ต่าง ๆ และเมื่อถูกถามว่ามีขายส่งขายปลีกอย่างไรบ้าง หากคุณตอบว่า มีขายที่สยามพารากอน มันสร้างอารมณ์ Wow แก่ผู้ฟังได้มาก สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าของคุณเมื่อเทียบกับการขายออนไลน์เพียงอย่างเดียว รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดขายสินค้าอยู่ในหัวข้อ อุตสาหกรรมในการจัดซื้อ ในบทความนี้ครับ
ซื้อจากไหน
Product sourcing เป็นส่วนของการสรรหาและจัดซื้อสินค้าที่ต้องการนำเข้ามาขาย แหล่งซื้อที่คนพูดถึงมากในปัจจุบันคือ ประเทศจีน แต่สินค้านำเข้าไม่ได้มีแต่ที่จีนอย่างเดียว สินค้าบางชนิดเช่น พรมทอมือ ขึ้นชื่อในอินเดีย เฟอร์นิเจอหรูต้องอิตาลี ขนมอันหลากหลายจากอเมริกา ของชำร่วยจากญี่ปุ่น ขึ้นอยู่กับคุณต้องการขายอะไรและขายให้ใคร
หากคุณต้องการนำเข้าสินค้า Mass ทั่วไปในราคาถูกและจำนวนมาก เช่น เข็มขัด กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า ไม่ได้เน้นแบรนด์และภาพลักษณ์ คุณอาจค้นหาจาก Alibaba
แต่ถ้าคุณต้องการนำเข้าขนมแปลก ๆ รสชาติดี และหน้าตาไฮโซ ๆ ก็อาจจะมองไปทางฝั่งอเมริกา เช่นเดียวกับเฟอร์นิเจอร์และ accessory คุณภาพสูงและมียี่ห้อก็หาจากอเมริกาและยุโรป ฯลฯ
ทั้งนี้ทั้งผู้ผลิตที่เป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าอาจมาตั้งโรงงานผลิตในจีนหรือเวียดนาม ดังนั้นคุณอาจติดต่อกับทางฝั่งอเมริกาในเฉพาะแค่การเปิด Deal ธุรกิจ แต่กระบวนการทำงานอาจติดต่อประสานงานนำเข้าจากเอเชียเป็นต้น
นำเข้ามาอย่างไร
นำเข้าอย่างไรเริ่มจาก ส่งออกจากไหน และปริมาณเท่าไร
อย่างที่บอกไว้ในข้อบนว่า บริษัทเจ้าของแบรนด์อาจอยู่ที่อเมริกา แต่โรงงานผลิตอาจอยู่ในประเทศจีน โมเดลนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะค่าแรงในอเมริการวมไปถึงยุโรปมีราคาแพง เจ้าของแบรนด์จึงหันมา Outsource การผลิตในเอเชีย โดยอาจแค่จ้างผลิตภายใต้การควบคุมคุณภาพของต้นสังกัด หรือต้นสังกัดมาตั้งโรงงานผลิตในจีนไปเลย ถ้าเป็นเช่นนี้ คุณก็ต้องนำเข้าจากประเทศที่เป็นศูนย์การผลิต
อย่างที่บอกไว้ในข้อบนว่า บริษัทเจ้าของแบรนด์อาจอยู่ที่อเมริกา แต่โรงงานผลิตอาจอยู่ในประเทศจีน โมเดลนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะค่าแรงในอเมริการวมไปถึงยุโรปมีราคาแพง เจ้าของแบรนด์จึงหันมา Outsource การผลิตในเอเชีย โดยอาจแค่จ้างผลิตภายใต้การควบคุมคุณภาพของต้นสังกัด หรือต้นสังกัดมาตั้งโรงงานผลิตในจีนไปเลย ถ้าเป็นเช่นนี้ คุณก็ต้องนำเข้าจากประเทศที่เป็นศูนย์การผลิต
ความแตกต่างระหว่างการนำเข้าจากอเมริกาและเอเชียคือ ค่า Freight และ Transit time หรือระยะเวลาเดินทาง ค่า Sea freight ส่งจากอเมริกาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่อาจแพงกว่าส่งจากเอเชียเกือบสิบเท่าตัว และระยะเวลาเดินทางก็ช้ากว่าส่งจากเอเชียเป็นเดือน
อาทิ ส่ง Sea freight จากอเมริกาเดินทาง 2 เดือน จากจีนเดินทาง 2 สัปดาห์เศษ ๆ เป็นต้นครับ หากจากเวียดนามมาไทย 3 วัน! แต่ถ้าหากนำเข้าทาง Air freight ก็จะเร็วมาก จากอเมริกามาไทยเดินทาง 2 วันเพราะมีการเปลี่ยนเครื่องที่สิงคโปร์ แต่ระยะเวลาการทำงานรวม ๆ ตั้งแต่จัดไฟล์ทจนไฟล์ทลงท่าอากาศยานไทยรวม ๆ ให้เผื่อประมาณ 7 วันครับ แต่ค่า Air freight จะแพงมากนะครับ ฉะนั้นต้องคำนวณต้นทุนและราคาขายสินค้าของท่านดี ๆ
นอกจากนั้นยังมีเรื่องค่าภาษีนำเข้า กล่าวคือหากวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าทำในเอเชียภายใต้พื้นที่ Free trade zone ก็อาจได้งดเว้นภาษีนำเข้าเป็นศูนย์เปอร์เซ็น ผมเคยทำงานกับ Supplier ที่ต้นสังกัดอยู่อเมริกา แต่มีโรงงานในเวียดนาม ได้สิทธิ Free trade zone และวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ก็อยู่ในประเทศที่ผลิตตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด ทำให้สามารถนำเข้ามาและใช้สิทธิ Free trade ภาษีเป็น 0% ลดต้นทุนไปได้มหาศาลครับ
ต้นทุนนำเข้าเท่าไร
คนเชื่อว่าถ้าต่อราคาสินค้าได้มากเท่าไรจะยิ่งส่งผลดีต่อ Profit margin แต่จริง ๆ แล้ว ตัวทำต้นทุนสูงไม่ได้อยู่ที่ราคาสินค้า แต่อยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ราคาส่งของตัวสินค้ามันมีขีดจำกัดในการต่อรอง ถ้าถูกมากเกินไป Supplier ก็ไม่อยากขายให้คุณ และต่อให้คุณต่อราคาได้ถูกลงไปอีก 3-5% (หลังจากต่อลงไปก่อนหน้านี้แล้วอีกหลายเปอร์เซ็นต์) ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนนำเข้าหรือ Landed cost โดยรวมของคุณลดลงไปมากหากคุณนำเข้าจากอเมริกาด้วยสินค้าที่ไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ และเสียภาษีนำเข้าเต็มพิกัดไม่มีสิทธิงดเว้นใด ๆ !
หรือหากคุณนำเข้าสินค้ามาทางเครื่องบิน และเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีภาษีนำเข้าแล้วยังเจอกับภาษีสรรพสามิตและภาษีมหาดไทยเข้าไปด้วยแล้ว เผลอ ๆ ค่า Freight และค่าภาษีรวมกันมีมูลค่าสูงกว่าตัวสินค้าด้วยซ้ำไปครับ
ฉะนั้นต้นทุนนำเข้าเท่าไร สำคัญที่นำเข้าจากไหนและบริหารจัดการนำเข้าดีแค่ไหน เปรียบเทียบค่า Freight สักสามสี่บริษัท เปรียบเทียบราคานำเข้าทางเรือและทางอากาศ ประเมินปริมาณสินค้าที่คุณจะนำเข้า หากนำเข้าไม่เต็มตู้ลองดูว่า ระหว่างเรือแบบ LCL (Less than container load) เท่าไร และหากนำมาแบบ Air freight เท่าไรเป็นต้น
ค่าภาษีจะคำนวณจาก ค่าสินค้าบวกค่า Freight ถ้าค่า Freight แพง ค่าภาษีก็จะยิ่งแพงตามไปด้วยครับ
สรุป
สินค้านำเข้ามีเสน่ห์ตรงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทางแตกต่างจากของในประเทศ และมีโอกาสขายได้ในราคาที่สูงกว่าสำหรับคนนิยมของนอก วิธีคิดแบบเบ็ดเสร็จสำหรับการขายสินค้านำเข้าคือ Profit margin ต้องหนา ขายทีต้องรวยกันไปเลย ดังนั้นคนที่มี Skills ในการสรรหาของนอกแปลก ๆ และสามารถนำเข้ามาขายได้ในขณะที่คนอื่นทำไม่ได้ช่วยให้คุณเป็นเซ็นเตอร์ในการขายสินค้านั้น ๆ
หรืออีกกรณีคือการนำเข้าสินค้า Mass รวมไปถึงสินค้า Parts and supply ต่าง ๆ เข้ามาจำนวนมากราคาถูกเพื่อป้อนโรงงานและร้านค้าส่งต่าง ๆ ก็เป็นอีกวิธีทำกำไรจากการขายวอลุ่ม
ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การนำเข้าสินค้ามาขายอย่างรู้ใจตลาดและบริหารการนำเข้าได้ดีสามารถทำให้คุณประสบความสำเร็จได้
ที่มา ceoblogสิ่งที่ได้จากบทความนี้
- ข้อดีของการนำเข้าคือ ความแตกต่างทางภาพลักษณ์ ดีไซส์ คุณภาพ และมีกำไรสูง กับ สินค้าที่ไม่มีผลิตในประเทศ การนำเข้าจึงมีราคาถูกกว่า
- สินค้าที่มีอยู่บนโลกนี้ตีความไว้เบื้องต้นความมันสามารถขายได้ แค่ขายได้ดีหรือไม่ดี
- ภาคการตลาดที่ต้องคำนึงเวลานำเข้า คือ ใครคือลูกค้า ราคาตลาดเท่าไหร่ จะขายอย่างไร
- ภาคการสรรหาที่ต้องคำนึง คือ ซื้อจากที่ไหน นำเข้ามาอย่างไร ต้นทุนนำเข้าเท่าไหร่
- การสำรวจราคาตลาด ต้องทำการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าให้ได้ก่อน เพราะสินค้ามีหลายเกรด หลายประเภท
- การขายบางประเภท High-end อาจต้องมีโชว์รูม และทำเลที่ตั้งโชว์รูมก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึง
- การนำเข้า ควรคำนึงนำเข้าจากประเทศที่มีสนธิสัญญาไม่เสียภาษี เพราะจะไม่มีภาษีนำเข้า เป็นการประหยัดต้นทุนได้มหาศาล
- การนำเข้าควรเปรียบเทียบค่า Freight สัก 3-4 บริษัท
- LCL (Less than container load)
แล้วคุณล่ะ ได้อะไรจากบทความนี้ มาแชร์กันนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น