จอลลี่ แบร์ กำลังเจอฝันร้าย / โดย เพจลงทุนแมน
นุ่มๆเหนียวๆ นุ่มๆเหนียวๆ โอ่ จอลลี่แบร์..
สโลแกนของ จอลลี่แบร์ ที่เราคุ้นหู
แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะจางหายไปตามกาลเวลา
ถ้าพูดถึงขนมกัมมี่แบร์หรือเยลลี่รูปหมี ทุกวันนี้หลายคนอาจจะนึกถึงยี่ห้อ HARIBO มาก่อนเป็นอันดับแรก
แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปเมื่อก่อน ยี่ห้อที่เราจะนึกถึงอันดับแรก น่าจะเป็นชื่อ จอลลี่ แบร์
แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปเมื่อก่อน ยี่ห้อที่เราจะนึกถึงอันดับแรก น่าจะเป็นชื่อ จอลลี่ แบร์
นอกเหนือจาก จอลลี่ แบร์ แล้ว ขนมภายใต้ตราสินค้า Jolly นั้น ยังมี Jolly Cola เยลลี่รูปขวดกลิ่นโคล่า และ Jolly Stick ขนมเคี้ยวเหนียวๆ (คล้ายซูกัส) ที่ห่อพลาสติกรูปสัตว์ต่างๆเช่น ยีราฟ สิงโต ช้าง หมี (คงนึกไม่ออก แต่ถ้าลองไปหารูปใน google เชื่อว่าทุกคนคงเคยกิน)
ซึ่งขนม Jolly ทั้งหมดนี้ มีเจ้าของเป็นคนไทย
บริษัท พงษ์จิตต์ จำกัด ของตระกูล เชาวน์ประดิษฐ์ จดทะเบียนขึ้นเมื่อปี 2516 หรือเมื่อ 44 ปีที่แล้ว เพื่อผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมหวานประเภท Gummy Confectionery
บริษัทมีรายได้เท่าไร?
ปี 2557 มีรายได้รวม 158 ล้านบาท กำไร 11 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 148 ล้านบาท กำไร 5.8 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 159 ล้านบาท กำไร 8.8 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 148 ล้านบาท กำไร 5.8 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 159 ล้านบาท กำไร 8.8 ล้านบาท
เวลาผ่านไป จำนวนขนมในบ้านเราเพิ่มขึ้นมากมายจากในอดีต ซึ่งก็มีขนมใหม่ๆ ทั้งจากผู้ผลิตเจ้าเดิมและเจ้าใหม่ รวมไปถึงขนมที่นำเข้าจากต่างประเทศให้เราได้เลือกซื้อกัน
และการเข้ามาของ HARIBO ก็น่าจะเป็นฝันร้ายของ จออลี่แบร์ และมีส่วนทำให้เราเห็น จอลลี่ แบร์ น้อยลง
HARIBO GmbH & Co. KG เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2463 หรือเมื่อ 97 ปีที่แล้ว โดยเริ่มต้นกิจการจากครัวในสนามหลังบ้านในเมืองบอนน์ และได้ชื่อนี้มาจากการย่อชื่อ ของผู้ก่อตั้ง Johannes Hans Riegel และเมือง Bonn
HARIBO คิดค้นขนมกัมมี่แบร์ขึ้นตั้งแต่ปี 2465 หรือ 95 ปีที่แล้ว ก่อนจะถูกนำเข้าไปขายในอเมริกาช่วงปี 2523 และปัจจุบันกลายเป็นกัมมี่แบร์ที่ขายดีอันดับ 1 ในอเมริกา
รายได้ของ HARIBO ในปี 2559 อยู่ที่ 3,180 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 104,940 ล้านบาท ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 10 ของบริษัทผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์ขนมหวานของโลก (ตาม net sales)
สำหรับขนม HARIBO ในบ้านเรา นำเข้าจาก ฮาริโบ้ประเทศตุรกี และจัดจำหน่ายโดยบริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าต่างประเทศรายใหญ่ของไทย (รายได้ของบริษัทนี้ ปี 2559 มีมากถึง 18,388 ล้านบาท)
แล้ว จอลลี่แบร์ กับ HARIBO ต่างกันยังไง?
รู้ไหมว่าจอลลี่แบร์ และ HARIBO มีทั้งหมด 5 สี โดย 4 สีแรกเหมือนกันคือ สีแดง (สตอเบอรี่) สีเขียว (แอ๊ปเปิ้ล) สีส้ม (ส้ม) สีเหลือง (สัปปะรด) ส่วนสีที่ 5 ของ จอลลี่แบร์คือ สีม่วง (องุ่น) แต่ HARIBO คือ สีขาว (เลมอน)
เมื่อเทียบขนาดเท่ากัน HARIBO จะแพงกว่า อาจเป็นเพราะต้องนำเข้า
จอลลี่แบร์จะต่างกับ HARIBO ตรงที่มีแป้ง ทำให้มีสีขุ่น และ กัดแล้วไม่เหนียวเท่า HARIBO ซึ่งจะ เคี้ยวหนึบกว่า และสีใสกว่า
การที่ HARIBO เนื้อเหนียวกว่า บางคนอาจจะไม่ชอบ เพราะ เราจะแยกชิ้นส่วนหมีแล้วเอาไปแปะสลับกับตัวอื่น ได้ยากกว่า จอลลี่แบร์..
เดี๋ยวก่อน นั่นไม่ใช่ประเด็น
ประเด็นคือตอนนี้ตามแผงร้านสะดวกซื้อ และ ซุปเปอร์มาร์เก็ต เราจะเห็น HARIBO ชัดกว่า เด่นกว่า จนทำให้บางคนลืมจอลลี่แบร์ไป ซึ่งก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า HARIBO มาแย่งส่วนแบ่งตลาดของจอลลี่แบร์ไปได้ไม่น้อย
เรื่องนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าโลกของเรากำลังเล็กลง สินค้าที่เหมือนกันอีกฟากโลกหนึ่งก็สามารถเข้ามาเป็นคู่แข่งขันกับเราได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน บางคนคิดว่าสินค้าของเราเป็นของกินของใช้ ไม่เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต คงไม่โดนต่างชาติเข้ามาแข่ง
แต่สุดท้ายเราก็อาจโดนเบียดโดยไม่รู้ตัว เหมือน จอลลี่แบร์..
ที่มา เพจ ลงทุนแมน
สิ่งที่ได้จากบทความนี้
- ผู้ผลิตจอลลี่แบร์ เจ้าของเป็นคนไทย
- กัมมี่แบร์ HARIBO เป็นของเยอรมัน ซึ่งเป็นบริษัทเก่าแก่และมียอดขายลำดับต้นๆของผู้ผลิตขนมหวานของโลก
- บริษัทเทรดดิ้ง หรือซื้อมาขายไปก็สามารถมียอดขายระดับหมื่นล้านต่อปี (ทำได้ไง?)
- จอลลี่แบร์มีส่วนผสมของแป้งจึงมีสีขุ่น
- โลกแคบลงกว่าแต่ก่อน คู่แข่งที่อยู๋คนละฟากโลกก็สามารถมาแย่งส่วนแบ่งจากเราไปได้โดยผ่านเทรดดิ้ง
แล้วคุณได้อะไรจากบทความนี้บ้าง?
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น